วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การสร้าง e-book ด้วย flipalbum

โปรแกรม Flip Album 6 Pro  เป็นโปรแกรมลักษณะของโปรแกรมสำเร็จรูป โดยโปรแกรมชุด FilpAlbum เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book ซึ่ง อีบุ๊ค” (eBook, EBook, e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book  หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจัดทำขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆ ได้



ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ
ซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนข้อมูลให้ออกมาเป็น E-Book และ ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่านมีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่
1. โปรแกรมชุด FilpAlbum
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flip Flash Album


ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย 
               1.1 โปรแกรมชุด FlipAlbum ตัวอ่านคือ FilpViewer
               1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
               1.3 โปรแกรมชุด Flip Flash Album ตัวอ่านคือ Flash Player



ลักษณะไฟล์ของ Electronic Book
                HTML เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดงานประเภทนี้จะมีนามสกุลของไฟล์หลายๆ แบบเช่น .htm หรือ .html เป็นต้น สาเหตุหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้นมาจากบราวเซอร์สำหรับเข้าชมเว็บต่าง ๆ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Communication ที่ใช้กันทั่วโลกสามารถอ่านไฟล์ HTML ได้ สำหรับไฟล์ XML ก็มีลักษณะเดียวกับไฟล์ HTML นั่นเอง
                PDF Portable หรือ Document Format ถูกพัฒนาโดย Adobe System Inc เพื่อจัดการเอกสารให้อยู่ใน รูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์ ไฟล์ประเภทนี้สามารถอ่านได้โดยระบบปฏิบัติการจํานวนมากและรวมถึง อุปกรณ์ E-Book Reader ของ Adobe ด้วย
                PML พัฒนาโดย Peanut Press เพื่อใช้สําหรับสร้าง E-Books โดยเฉพาะอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่ สนับสนุนไฟล์ประเภท PML นี้จะสนับสนุนไฟล์นามสกุล .PDF ด้วย (หมายเหตุ ข้อมูลจาก www.j-joy.co.th)

วิธีการที่ใช้กับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ด้วยโปรแกรมในตระกูล Flip Album
                1. เตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                2. ทำความรู้จักกับโปรแกรม Flip Album 6 Pro   ผู้ใช้งานจะต้องติดตั้งตัวโปรแกรม (install) ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือเครื่องพกพาแบบโน๊ตบุ๊ค (Note Book) ก็ได้   ขณะปฏิบัติการงานสร้างนั้น คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อระบบเครือข่ายก็ได้
                3. การติดตั้งโปรแกรม Flip Album 6 Pro
                4. การเข้าสู่โปรแกรม Flip Album 6 Pro  การเข้าสู่โปรแกรมมีวิธีการหลัก 2 วิธี คือ 1.) เข้าโดย  Dubble Click ที่รูปภาพหนังสือสีแดงบนหน้า Desktop หรือ 2.) เข้าโดย Click ที่ปุ่ม  Start/Program/E-Book Sytems/FlipAlbum 6 Pro/FlipAlbum Pro
                5. การสร้างสรรค์งานโปรแกรม Flip Album 6 Pro ซึ่งสามารถมีการเพิ่มหน้าหนังสือแบบอัตโนมัติ






               6. การนำเข้าข้อมูลจากภาพกราฟิค (Digital Pictures) การนำเข้าข้อความมาจัดพิมพ์ใส่ในหนังสือ รวมถึงการนำเข้าข้อความจาก Microsoft Word และ PowerPoint มาสร้าง e-book
               7. การนำไฟล์ PDF มาสร้าง e-book การตกแต่งหนังสือ (Set Book Option) การแทรกภาพนิ่ง (Insert Clip Art) การจัดทำไฟล์วีดิทัศน์ (Video)




ที่มา : yui & ครูโอ

การสร้างอีบุ๊คด้วย PowerPoint


การสร้างอีบุ๊คด้วย PowerPoint พร้อมการเชื่อมโยง Hyperlinks


ที่มา : Supoet Srinutapong

วิธีการสร้าง E-BOOK จากไฟล์ PDF ได้ง่ายๆโดยใช้โปรแกรม I Love Library

สำหรับเพื่อนๆที่ยังไม่มีไฟล์ PDF แต่มีไฟล์ที่พิมพ์จากโปรแกรม MS WORD แล้ว ท่านก็สามารถที่จะแปลงไฟล์จากเอกสาร MS WORD ไปเป็นไฟล์ PDF ก่อนครับ สำหรับวิธีการแปลงไฟล์เรียนรู้ได้จาก ที่นี่ ครับ
สำหรับวิธีการสร้าง E-BOOK จากไฟล์ PDF ท่านสามารถทำได้ง่ายๆโดยใช้ FREE WARE ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่าโปรแกรม I Love Library ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้าง E-BOOK และเปิดอ่าน E-BOOK ได้ในตัวครับ

สำหรับวิธีการสร้าง E-BOOK จากไฟล์ PDF โดยใช้โปรแกรม I Love Library มีวิธีการ ดังนี้

       1. DOWNLOAD โปรแกรม I Love Library มาติดตั้งในเครื่องก่อน โดย DOWNLOAD ได้ที่ เว็บไซต์http://www.ilovelibrary.com/ โดยให้คลิกที่ปุ่มดังรูป


และกรอก E-MAIL ของท่านลงไป

2. เมื่อได้ไฟล์ติดตั้งมา ให้ท่านทำการ Double Click ไฟล์ที่ Download มา แล้วติดตั้งโปรแกรมแบบทั่วๆไปคือคลิก Next  Next และก็ Next จนกว่าจะพบกับคำว่า Finish

3. สำหรับวิธีใช้โปรแกรมทำได้โดยไปที่ Start>>>>Programme>>> I Love Library >>> Library Builder
4. กดที่ปุ่ม New เพื่อสร้าง E-BOOK ใหม่  


5. โปรแกรมจะสร้างระบบอัตโนมัติขึ้นมาให้(Wizard) ขึ้นมาให้ ให้เรากดที่คำว่า Click to create new book


6. โปรแกรมจะให้เราใส่ชื่อไฟล์ E-BOOK และตำแหน่งในการจัดเก็บไฟล์  เสร็จแล้วให้กดปุ่ม SAVE

7. โปรแกรมจะนำเราเข้าสู่ Step ที่ 2 เพื่อนำเข้าไฟล์ที่จะสร้าง E-BOOK ให้เรากดปุ่ม Click to add file

แล้วให้เราหาไฟล์ PDF หรือรูปภาพก็ได้มาสร้างเป็น E-BOOK  เมื่อเสร็จให้กดปุ่ม OPEN โปรแกรมจะนำเข้าไฟล์เพื่อมาสร้างเป็น E-BOOK จนกว่าจะเสร็จ ให้กดปุ่ม OK



8. โปรแกรมจะพาเราเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3.1 เพื่อสร้างหน้าปกหนังสือ คลิกคำว่า  Click to add cover



9. โปรแกรมจะถามว่าต้องการจะเอาเอกสารหน้าแรกมาทำเป็นหน้าปกหรือไม่ ถ้าใช่ให้คลิก YES ถ้าต้องการจากไฟล์อื่นให้คลิก NO แล้วเลือกภาพหรือไฟล์ PDF มาสร้างเป็นหน้าปก  ถ้าเสร็จแล้วคลิก OPEN

10. โปรแกรมจะพาเราเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3.2 เพื่อสร้างรายละเอียดของเจ้าของหนังสือ ให้กดปุ่ม Click to add poperties แล้วพิมพ์ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่งและอื่นๆ เสร็จแล้วกดปุ่ม OK





     11. โปรแกรมจะพาเราเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4.1 เพื่อให้เราใส่หมวดหมู่ของหนังสือ คลิกคำว่า  Click to add categories แล้วคลิกเลือกหมวดหมู่หนังสือ  และกดปุ่ม OK



12. โปรแกรมจะพาเราเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4.2 เพื่อให้เราใส่รายละเอียดของหนังสือเราในชั้นวางหนังสือ  คลิกคำว่า  Click to add front/spine  และกดปุ่ม OK









     13. โปรแกรมจะพาเราเข้าสู่ขั้นตอนที่ 5 เพื่อให้ดูหนังสือที่สร้างขึ้น หนังสือเราในชั้นวางหนังสือ  คลิกคำว่า  Click to previews  เราก็จะได้หนังสือ E-BOOK ของเราขึ้นมา 1 เล่มครับ







  เมื่อเสร็จแล้วให้กดปุ่ม CLOSE ก็จะมีไฟล์ E-BOOK ขึ้นมา 1 ไฟล์ และเปิดได้ด้วยโปรแกรม I Love Library วิธีการเปิดใช้ไฟล์เครื่องที่จะใช้ก็ต้องมีโปรแกรม I Love Library และเปิดไฟล์โดยการ DOUBLE CLICK ครับ

ที่มา : kaepe.net

โปรแกรมสร้างอีบุ๊ค

โปรแกรมสร้างอีบุ๊ค

โปรแกรมสำหรับสร้างอีบุ๊คมีหลายแบบหลายประเภท ความยากง่ายซับซ้อนในการใช้งานก็ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของอีบุ๊คที่ต้องการสร้าง เช่น

โปรแกรมสร้างอีบุ๊คแบบ PDF
1. โปรแกรมสำหรับพิมพ์เอกสาร หรือจัดรูปเล่มของเอกสารทุกชนิดเช่น Word, Publisher, PageMaker, Pladao Office เราสามารถใช้โปรแกรมเหล่านี้ พิมพ์เนื้อหาที่เราจะนำไปสร้าง eBook ได้เลย พูดกันง่ายๆ ก็คือทำรายงานนั่นเอง สมัยเรียนเราต้องทำรายงานส่งอาจารย์ ก็พิมพ์แบบนั้น ไม่ได้แตกต่างกัน แต่เรียก eBook ให้ดูทันสมัยก็แค่นั้นเอง
2. โปรแกรมตกแต่งภาพ สำหรับทำภาพประกอบ เช่น Photoshop หรือโปรแกรมช่วยย่อขนาดภาพอย่าง PhotoResizer ซึ่งสามารถย่อภาพพร้อมกันได้ทั้งโฟลเดอร์ พร้อมทั้งทำเงาให้ภาพได้อีกด้วย
3. โปรแกรมแปลงไฟล์เอกสารเป็น PDF เช่น Acrobat, CutePDF Printer




โปรแกรมสำหรับสร้าง eBook แบบ ePub
ในการสร้าง eBook แบบ ePub เพื่อใช้กับเครื่อง Amazon Kindle หรือ iPhone/iPad นั้นจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้ลงในเครื่อง
1. โปรแกรมพิมพ์เอกสาร ปกติในเครื่องเราก็มี Word, Notepad หรือ Open Office ให้ใช้อยู่แล้ว
2. Kompozer โปรแกรมสำหรับพิมพ์เนื้อหาของหนังสืออีบุ๊ค แก้ไขไฟล์ HTML สร้างสารบัญ ใส่ภาพประกอบในหนังสือ
3. PDFill Free PDF Writer โปรแกรมแปลงไฟล์เอกสารเป็นไฟล์ PDF หรือไฟล์ภาพแบบ JPG
4. CutePDF Writer แปลงไฟล์เอกสารใน Word หรือโปรแกรมใดๆ ให้เป็นไฟล์ PDF ที่สามารถนำไปเปิดกับเครื่อง Amazon Kindle ได้ทันที
5. Mobipocket Creator โปรแกรมแปลงไฟล์เอกสารแบบ HTML, Doc, Txt และ PDF เพื่อให้เป็นอีบุ๊คที่สามารถเปิดอ่านกับเครื่อง Amazon Kindle ได้
6. Kindle Previewer โปรแกรมไว้ดูผลงานอีบุ๊คที่ได้สร้างด้วยโปรแกรม Mobipocket Creator
7. Screenhunter ไว้จับภาพ เพื่อนำภาพในอินเตอร์เน็ตมาทำภาพประกอบ
8. FastStone Photo Resizer โปรแกรมช่วยลดขนาดภาพ เช่น ภาพประกอบมีขนาดใหญ่ ก็สามารถลดขนาดพร้อมกันได้ทั้งโฟลเดอร์ ประหยัดเวลาลดเองทีละภาพ และยังใส่ลายน้ำ เอฟเฟ็คต์แบบต่างๆ ให้กับภาพใด้อีกอ้วย
9. Photoscape โปรแกรมจัดการภาพอีกโปรแกรมหนึ่ง สามารถตกแต่งภาพ พิมพ์ข้อความลงบนภาพ ทำกรอบ ทำบอลลูนให้กับภาพก็ได้


โปรแกรมสร้างอีบุ๊คแบบมัลติมิเดีย
มีให้เลือกหลายโปรแกรม ลองค้นหาข้อมูลการสร้างอีบุ๊คด้วยโปรแกรมเหล่านี้ในเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางก่อนลงมือสร้างจริงๆ
1. Desktop Author
2. Flash media gallery
3. Flip Album
4. Flash
5. Authoware
6. โปรแกรมเกี่ยวกับการตัดต่อเสียง เช่น CDex, Sound Recorder, Nero Sountrax
7. โปรแกรมตกแต่งภาพประกอบในอีบุ๊คเช่น Photoshop


แหล่งดาวน์โหลดโปรแกรม
สำหรับการดาวน์โหลดโปรแกรมสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ต่างๆ ดังนี้ ซึ่งมีโปรแกรมต่างๆ ครบตามที่แนะนำ
  • Sourceforge.net
  • Download.com
  • Filehipho.com
  • Softpedia.com


ภาษากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง

ภาษากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป


โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกๆวัน ทุกๆช่วงเวลา ทุกสิ่งก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่เว้นกระทั้งสื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อ สื่อสาร และใช้ในการเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆที่เรียกว่า ภาษา  ภาษาเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คนสามารถที่จะสื่อสารส่งผ่านความคิดให้เข้าใจกันได้ โดยในแต่ละท้องถิ่น แต่ละเพศ แต่ละวัย หรือช่วงเวลา ย่อมมีภาษาที่แตกต่างออกไป บางคนบอกว่าภาษานั้นมีชีวิตเพราะสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสภาพแวดล้อม เหตุการณ์ หรือช่วงเวลายุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ภาษาอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางดี หรือไม่ดีก็เป็นไปได้ ตามแต่บุคคลจะเลือกใช้อย่างไร
               
 ความหมายของภาษา
ภาษา หมายถึง การพูด การแสดงออกเพื่อสื่อความหมายอย่างเป็นระบบ ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร ภาษาใช้เสียงสื่อความหมายเป็นสำคัญ ดังนั้น ทุกชนชาติจึงมีภาษา นั่นคือภาษาพูด ตัวอักษรไม่ใช่ภาษา แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงในภาษา เมื่อภาษาเกิดขึ้นมาแล้ว ภาษามักจะสะท้อนความเจริญของมนุษย์ผู้สร้างสรรค์ ภาษาไทย เป็นภาษาที่แสดงให้เห็นถึงคนไทยที่เจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่โบราณ ภาษาไทยจึงมีศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
               
การเปลี่ยนแปลง ของภาษา
                ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านเสียง และความหมาย บางคำอาจกลายเป็นเป็นคำสูญหาย ไม่มีใครใช้ ทั้งนี้อาจมีสาเหตุจาก การพูดในชีวิตประจำวัน ทั้งการกร่อนเสียง เช่น หมากขาม เป็น มะขาม สาวใภ้ เป็น สะใภ้ หรือการกลมกลืนเสียง เช่น อย่างไร เป็น ยังไง อย่างนั้น เป็น อย่างงั้น อิทธิพลจากภาษาอื่น ในสมัยก่อน ไทยรับภาษาบาลี สันสกฤต และคำเขมรมาใช้ แต่ในปัจจุบัน ไทยรับเอาคำตะวันตกมาใช้ เช่นคำว่า เกียร์ เมตร ไมล์ สังเกตว่า เรารับแต่คำศัพท์มา มิได้รับไวยากรณ์มาด้วย เช่น เราใช้คำว่า เขาสูงห้าฟุต มิใช่ เขาสูงห้าฟิต   ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง ก้อมีการเรียกสิ่งใหม่เช่น จานดาวเทียม โทรศัพท์มือถือ การเรียนภาษาของเด็ก เมื่อเด็กเริ่มเรียนภาษา อวัยวะต่าง ๆ ยังทำงานไม่เต็มที่ เด็ก ๆ จะออกเสียงเพี้ยนไปจากผู้ใหญ่ บางทีต้องสร้างคำง่าย ๆ เพื่อให้เด็กออกเสียงกัน เช่น หม่ำ แทนคำว่า กิน สมองของเด็กอาจยังไม่พัฒนาเต็มที่ มักอาจผูกประโยคแบบแปลก ๆ ถ้าหากเด็กไม่ได้รับการแก้ไขหรือผู้ใหญ่เห็นว่าน่ารัก อาจนำมาใช้ตาม ก็อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาได้
                      
 ภาษา ณ ปัจจุบัน
ถ้าเปรียบเทียบภาษาเขียนกับภาษาพูด ของเราจะเห็นว่ามีความแตกต่างบางอย่างเช่น เสียงสระ ในคำว่า น้ำ ไหว้ ก้าว นั้นเวลาพูดเราออกเสียงยาวเป็น น้าม หว้าย และ ก้าว หรือคำว่าท่าน ออกเสียงเป็น ทั่น หรือถ้าอ่านหนังสือซึ่งเขียนขึ้นเมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร์จะพบว่ามีคำบางคำซึ่งในภาษากลางในปัจจุบันจะไม่ใช้แล้วเช่น น้ำบก หมายถึง น้ำแห้ง เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในภาษา ภาษาทุกภาษาที่ยังมีใช้พูดอยู่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ค่อยเป็นค่อยไปหรือ เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ ซึ่งเราจะมองไม่เห็นภาพ การเปลี่ยนแปลงได้ชัดแจ้งก็ต่อเมื่อ เวลาผ่านไปมากพอสมควร โดยอาจกลับไปดูภาษาเขียนสมัยก่อนในช่วงชีวิตนั้นยากที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่สมบูรณ์ได้    แต่ในชั่วชีวิตของคนหนึ่งคน ก็อาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้ เช่น คำ ในบรรดาสิ่งต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นภาษา เสียง คำ การเรียงคำ และความหมาย ดูเหมือน คำ เป็นสิ่งที่คนทั่วๆไป ให้ความสนใจหรือสังเกตได้ง่ายที่สุดทั้งนี้อาจเป็นเพราะ คำ เป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตจริง ซึ่งคนทั่วๆไปเห็นได้ ส่วนเรื่องเสียงและการเรียงคำนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวภาษาโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับสภาพจริงของมนุษย์จึงไม่มีใครสนใจ นอกจากนักภาษาเอง ที่ว่ามนุษย์สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคำได้ เช่น มีโอกาสได้ยินคำที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่อันเนื่องมาจากการยืม หรือ การสร้างขึ้นใหม่ หรือ ถ้าเป็นผู้สูงอายุอาจจะสังเกตคำว่าคำบางคำ ได้ศูนย์หายไปโดยมีคำอื่นเข้ามาแทน ส่วนเสียงและความหมายนั้นเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่า ในช่วงระยะเวลา สั้นๆ
               ในการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ของภาษามีสิ่งสำคัญสองประการ ซึ่งเราจะต้องพยายามอธิบายคือ ภาษาเปลี่ยนไปอย่างไร และสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของภาษา ปัญหาแรก มีผู้ศึกษาค้นคว้าไปมาก และผลที่ออกมาก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แต่สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง นั้นยังเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอีกมา
            
  ภาษาวัยรุ่น ที่เปลี่ยนไป
                แต่ในยุคปัจจุบันวันรุ่นไทยได้นำภาษาหนึ่งมาใช้ ซึ่งภาษานี้เรียกได้ว่าเป็น"ภาษาวิบัติ"วิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ตรงกับกับหลักภาษาในด้านการสะกดคำ คำว่า 'ภาษาวิบัติ' ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย รวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากเดิม คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย โดยในความคิดของวัยรุ่นแล้วคิดว่าคือภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาที่วิบัติมาจากการใช้ภาษาของกลุ่มวัยรุ่น  ไม่ว่าจะเป็นการสนทนา เขียนหนังสือ ส่งข้อความ สนทนาผ่านอินเตอร์เน็ท หรือที่เรียกกันว่าการ Chat โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คำบางคำสั้นลง หรือเพื่อเพิ่มเติม เสริมแต่งให้คำที่พวกเขาใช้กันดูมีความเก่ไก๋ ไฮโซ แนว ซึ่งภาษาเหล่านี้เกิดมาจากการตั้งขึ้นมาเองใหม่ หรือการผสมผสานคำเองระหว่างภาษาต่างๆ ฟังแล้วไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่รู้เรื่องกัน ไม่รู้คิดได้ไง คิดว่าภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาที่ไม่สิ้นสุด เพราะวัยรุ่นจะคิดคำแปลกๆใหม่ๆมาใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน จนบางครั้งผู้ฟังที่เพิ่งได้ยินอาจจะไม่เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริง

                 ภาษากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงนั้นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ของภาษามีสิ่งสำคัญสองประการ ซึ่งเราจะต้องพยายามอธิบายคือ ภาษาเปลี่ยนไปอย่างไร และสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของภาษา ปัญหาแรก มีผู้ศึกษาค้นคว้าไปมาก และผลที่ออกมาก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แต่สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง นั้นยังเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอีกมาก

ที่มา : Khwanrutai wannatip