วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ภาษาไทยกับวัยรุ่นในปัจจุบัน

ภาษาไทยกับวัยรุ่นในปัจจุบัน


พูดไทยไม่ค่อยชัด...แต่ภาษาอังกฤษ...ไม่ได้เลยเป็นมุขตลกที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ประโยคดังกล่าวไม่ได้เป็นแค่มุขตลกขำ ๆ อีกแล้ว เพราะปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ พูดภาษาไทยก็ไม่ค่อยชัดอยู่แล้ว แต่ภาษาอังกฤษก็ไม่ดีเช่นกันหรืออาจกล่าวได้ว่ากำลังมีอาการของโรคสมมุติที่เรียกว่า โรคภูมิคุ้มกันภาษาไทยบกพร่องโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ซึ่งอาการที่พบมากที่สุดก็คือ โรค ร ล ลักปิดลักเปิด ซึ่งมักออกเสียง ร ไม่ได้ หรือออกเสียงเป็นเสียง ในภาษาอังกฤษ  โรค ส ซ อักเสบ โดยมักมีเสียงพ่นหน้าคำมากเกินไปจนคล้ายกับเสียง S ของภาษาอังกฤษและโรควรรณยุกต์เคลื่อนเรื้อรัง ซึ่งเป็นการออกเสียงวรรณยุกต์เคลื่อนที่ไปจากระดับเสียงหนึ่ง เช่น แม่ เป็น แม้ ผีเสื้อ เป็น ผี่เสื้อ เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพูดและเขียนภาษาไทยของวัยรุ่นก็คือ สื่อมวลชนนั่นเอง โดยเฉพาะ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ต กล่าวคือ เด็กวัยรุ่นมักจะเลียนแบบการออกเสียงการพูดของดารา ศิลปินนักร้อง รวมทั้งพิธีกรรายการ ตลอดจนดีเจที่ตนเองชื่นชอบ เพราะคิดว่าเป็นความเท่ห์ มีเสน่ห์ โดยมักพูดไทยสำเนียงฝรั่ง ใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียน หรือพูดไทยคำ อังกฤษคำ เป็นต้น ส่วนด้านการเขียนนั้น พบว่า เด็กไทยเขียนภาษาไทยกันไม่ค่อยถูกต้อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเคยชินกับภาษาเขียนที่ใช้ในการเขียนกลอนวัยรุ่น การส่งข้อความผ่านมือถือ และการเขียนในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะจากการแช็ต ที่จะเน้นเขียนคำให้สั้นที่สุด เช่น “555” แทนเสียงหัวเราะ เดวแทนคำว่า เดี๋ยว” “ไปเดก่าแทนคำว่า ไปดีกว่าคำว่า ไม่เป็นไรก็เขียนเป็น ม่ายเปนรายงุงิ คริคริ แทนความรู้สึกบางอย่าง สาด-กรู เป็นต้น 

การใช้ภาษาไทยที่บกพร่องของสังคมปัจจุบัน


        "เด็กและเยาวชนอาจนำมาเป็นแบบอย่างได้ ผู้นำประเทศและนักการเมืองควรให้ความสำคัญในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ชัดเจน และคำนึงถึงมารยาทในการเลือกใช้คำให้เหมาะสม และสังคมควรช่วยกันเฝ้าระวัง และร่วมมือท้วงติงหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต บุคคลสาธารณะ ที่ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม"
          สื่ออินเตอร์เน็ตมีการใช้ภาษาสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต หรือการส่งข้อความ มีการตัดทอนคำ สะกดคำผิด ใช้ภาษาผิดจากความหมายเดิม รวมถึงการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตค้นคว้าข้อมูล ทำให้ภาษาเขียนบกพร่อง เช่น คำศัพท์ การสะกดคำ การเขียนผิดไวยากรณ์ เมื่อเด็กวัยรุ่นใช้เป็นประจำทุกวัน ก็ติดเป็นนิสัย นำมาใช้เขียนในการบ้านหรือในรายงาน
          “เป็นการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง จึงควรหาวิธีควบคุมการใช้ภาษาไทยในสื่ออินเตอร์เน็ต และจัดทำพจนานุกรมออนไลน์ให้เด็กและเยาวชนสืบค้นความหมายของคำและสำนวนภาษาไทยได้อย่างกว้างขวาง เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะ เพราะเด็กจะนิยมใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าเปิดหนังสือ
          ส่วนการอ่าน ฟัง พูด เขียน ภาษาไทยของเด็กในสังกัด สพฐ. พบว่า การใช้ภาษาไทยของเด็กเทียบได้กับผู้ป่วยขั้นโคม่า หรือแย่มากๆ และการแก้ปัญหาเด็กอ่อนภาษาไทย ที่หลายหน่วยงานกำลังพยายามทำอยู่ก็ยังไม่ตรงจุด เหมือนแก้ปัญหาแบบจับแพะชนแกะ โดยไม่ดูธรรมชาติของเด็กว่าต้องการเรียนรู้แบบไหน วิธีการอย่างไร ทั้งที่จริงๆ แล้วควรเริ่มฝึกให้เด็กอยากเรียนรู้และใฝ่รู้ โดยไม่มีการบังคับเด็ก ซึ่งอาจทำด้วยการให้เด็กอ่านหนังสือนอกเวลา หรือหนังสือเสริมบทเรียน เช่น นิทาน เรื่องสั้น บทความ ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยมีครูคอยให้คำชี้แนะ


ที่มา : https://sites.google.com/site/gip37bangli/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น