วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ภาษากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง

ภาษากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป


โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกๆวัน ทุกๆช่วงเวลา ทุกสิ่งก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่เว้นกระทั้งสื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อ สื่อสาร และใช้ในการเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆที่เรียกว่า ภาษา  ภาษาเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คนสามารถที่จะสื่อสารส่งผ่านความคิดให้เข้าใจกันได้ โดยในแต่ละท้องถิ่น แต่ละเพศ แต่ละวัย หรือช่วงเวลา ย่อมมีภาษาที่แตกต่างออกไป บางคนบอกว่าภาษานั้นมีชีวิตเพราะสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสภาพแวดล้อม เหตุการณ์ หรือช่วงเวลายุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ภาษาอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางดี หรือไม่ดีก็เป็นไปได้ ตามแต่บุคคลจะเลือกใช้อย่างไร
               
 ความหมายของภาษา
ภาษา หมายถึง การพูด การแสดงออกเพื่อสื่อความหมายอย่างเป็นระบบ ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร ภาษาใช้เสียงสื่อความหมายเป็นสำคัญ ดังนั้น ทุกชนชาติจึงมีภาษา นั่นคือภาษาพูด ตัวอักษรไม่ใช่ภาษา แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงในภาษา เมื่อภาษาเกิดขึ้นมาแล้ว ภาษามักจะสะท้อนความเจริญของมนุษย์ผู้สร้างสรรค์ ภาษาไทย เป็นภาษาที่แสดงให้เห็นถึงคนไทยที่เจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่โบราณ ภาษาไทยจึงมีศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
               
การเปลี่ยนแปลง ของภาษา
                ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านเสียง และความหมาย บางคำอาจกลายเป็นเป็นคำสูญหาย ไม่มีใครใช้ ทั้งนี้อาจมีสาเหตุจาก การพูดในชีวิตประจำวัน ทั้งการกร่อนเสียง เช่น หมากขาม เป็น มะขาม สาวใภ้ เป็น สะใภ้ หรือการกลมกลืนเสียง เช่น อย่างไร เป็น ยังไง อย่างนั้น เป็น อย่างงั้น อิทธิพลจากภาษาอื่น ในสมัยก่อน ไทยรับภาษาบาลี สันสกฤต และคำเขมรมาใช้ แต่ในปัจจุบัน ไทยรับเอาคำตะวันตกมาใช้ เช่นคำว่า เกียร์ เมตร ไมล์ สังเกตว่า เรารับแต่คำศัพท์มา มิได้รับไวยากรณ์มาด้วย เช่น เราใช้คำว่า เขาสูงห้าฟุต มิใช่ เขาสูงห้าฟิต   ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง ก้อมีการเรียกสิ่งใหม่เช่น จานดาวเทียม โทรศัพท์มือถือ การเรียนภาษาของเด็ก เมื่อเด็กเริ่มเรียนภาษา อวัยวะต่าง ๆ ยังทำงานไม่เต็มที่ เด็ก ๆ จะออกเสียงเพี้ยนไปจากผู้ใหญ่ บางทีต้องสร้างคำง่าย ๆ เพื่อให้เด็กออกเสียงกัน เช่น หม่ำ แทนคำว่า กิน สมองของเด็กอาจยังไม่พัฒนาเต็มที่ มักอาจผูกประโยคแบบแปลก ๆ ถ้าหากเด็กไม่ได้รับการแก้ไขหรือผู้ใหญ่เห็นว่าน่ารัก อาจนำมาใช้ตาม ก็อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาได้
                      
 ภาษา ณ ปัจจุบัน
ถ้าเปรียบเทียบภาษาเขียนกับภาษาพูด ของเราจะเห็นว่ามีความแตกต่างบางอย่างเช่น เสียงสระ ในคำว่า น้ำ ไหว้ ก้าว นั้นเวลาพูดเราออกเสียงยาวเป็น น้าม หว้าย และ ก้าว หรือคำว่าท่าน ออกเสียงเป็น ทั่น หรือถ้าอ่านหนังสือซึ่งเขียนขึ้นเมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร์จะพบว่ามีคำบางคำซึ่งในภาษากลางในปัจจุบันจะไม่ใช้แล้วเช่น น้ำบก หมายถึง น้ำแห้ง เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในภาษา ภาษาทุกภาษาที่ยังมีใช้พูดอยู่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ค่อยเป็นค่อยไปหรือ เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ ซึ่งเราจะมองไม่เห็นภาพ การเปลี่ยนแปลงได้ชัดแจ้งก็ต่อเมื่อ เวลาผ่านไปมากพอสมควร โดยอาจกลับไปดูภาษาเขียนสมัยก่อนในช่วงชีวิตนั้นยากที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่สมบูรณ์ได้    แต่ในชั่วชีวิตของคนหนึ่งคน ก็อาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้ เช่น คำ ในบรรดาสิ่งต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นภาษา เสียง คำ การเรียงคำ และความหมาย ดูเหมือน คำ เป็นสิ่งที่คนทั่วๆไป ให้ความสนใจหรือสังเกตได้ง่ายที่สุดทั้งนี้อาจเป็นเพราะ คำ เป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตจริง ซึ่งคนทั่วๆไปเห็นได้ ส่วนเรื่องเสียงและการเรียงคำนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวภาษาโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับสภาพจริงของมนุษย์จึงไม่มีใครสนใจ นอกจากนักภาษาเอง ที่ว่ามนุษย์สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคำได้ เช่น มีโอกาสได้ยินคำที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่อันเนื่องมาจากการยืม หรือ การสร้างขึ้นใหม่ หรือ ถ้าเป็นผู้สูงอายุอาจจะสังเกตคำว่าคำบางคำ ได้ศูนย์หายไปโดยมีคำอื่นเข้ามาแทน ส่วนเสียงและความหมายนั้นเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่า ในช่วงระยะเวลา สั้นๆ
               ในการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ของภาษามีสิ่งสำคัญสองประการ ซึ่งเราจะต้องพยายามอธิบายคือ ภาษาเปลี่ยนไปอย่างไร และสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของภาษา ปัญหาแรก มีผู้ศึกษาค้นคว้าไปมาก และผลที่ออกมาก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แต่สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง นั้นยังเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอีกมา
            
  ภาษาวัยรุ่น ที่เปลี่ยนไป
                แต่ในยุคปัจจุบันวันรุ่นไทยได้นำภาษาหนึ่งมาใช้ ซึ่งภาษานี้เรียกได้ว่าเป็น"ภาษาวิบัติ"วิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไป และไม่ตรงกับกับหลักภาษาในด้านการสะกดคำ คำว่า 'ภาษาวิบัติ' ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย รวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจากเดิม คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี หมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย โดยในความคิดของวัยรุ่นแล้วคิดว่าคือภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาที่วิบัติมาจากการใช้ภาษาของกลุ่มวัยรุ่น  ไม่ว่าจะเป็นการสนทนา เขียนหนังสือ ส่งข้อความ สนทนาผ่านอินเตอร์เน็ท หรือที่เรียกกันว่าการ Chat โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คำบางคำสั้นลง หรือเพื่อเพิ่มเติม เสริมแต่งให้คำที่พวกเขาใช้กันดูมีความเก่ไก๋ ไฮโซ แนว ซึ่งภาษาเหล่านี้เกิดมาจากการตั้งขึ้นมาเองใหม่ หรือการผสมผสานคำเองระหว่างภาษาต่างๆ ฟังแล้วไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่รู้เรื่องกัน ไม่รู้คิดได้ไง คิดว่าภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาที่ไม่สิ้นสุด เพราะวัยรุ่นจะคิดคำแปลกๆใหม่ๆมาใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน จนบางครั้งผู้ฟังที่เพิ่งได้ยินอาจจะไม่เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริง

                 ภาษากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงนั้นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ของภาษามีสิ่งสำคัญสองประการ ซึ่งเราจะต้องพยายามอธิบายคือ ภาษาเปลี่ยนไปอย่างไร และสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของภาษา ปัญหาแรก มีผู้ศึกษาค้นคว้าไปมาก และผลที่ออกมาก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แต่สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง นั้นยังเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอีกมาก

ที่มา : Khwanrutai wannatip

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น